พร้อมไหม? ดีเดย์ 1 ก.ค.65 “ถอดแมสก์” เข้าสู่โรคประจำถิ่น
25 มกราคม 2566


press release-01.jpg



จีรพงษ์ ประเสริฐพลกรัง และนันทพร ทาวะระ นักจัดรายการ ของสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
พูดคุยใน “รายการช่วยกันคิดทิศทางข่าว” ในประเด็น "พร้อมไหม? นับถอยหลังสู่โควิดเป็นโรคประจำถิ่น" ว่า

แม้ ศบค.ชุดใหญ่จะมีมติเมื่อวันที่ 17 มิ.ย.65 ไฟเขียว ให้ถอดหน้ากากอนามัย หรือ ถอดแมสก์ กำหนดดีเดย์ออกมาแล้วคือวันที่ 1 ก.ค. 65
แต่มีทั้งคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ฝั่งที่ไม่เห็นด้วยกังวล เพราะจำนวนผู้ฉีดวัคซีน เข็มกระตุ้นยังไม่ถึง 60% ขณะที่ยังไม่มียารักษาโควิดได้ 100%
และมองว่าการสวมหน้ากากอนามัย ถือเป็นการป้องกันพื้นฐานที่ทุกคนควรปฏิบัติ และสามารถป้องกันโรคอื่นได้ด้วย

แต่ทั้งนี้ เมื่อดู​ประกาศคำสั่ง ศบค.ให้ดี พบว่า ก่อนหน้านี้คำสั่งเกี่ยวกับการสวมหน้ากากอนามัยเคยใช้คำว่า “ต้องสวมหน้ากากอนามัย”
เปลี่ยนมาเป็นใช้คำว่า “ควรสวมหน้ากากอนามัย” แทน ทำให้ทุกคนต้องประเมิน ความเสี่ยงด้วยตัวเอง

และมีเงื่อนไข บางข้อ คือ กลุ่ม 608 หรือกลุ่มผู้สูงอายุและ7โรคเรื้อรัง ที่ไม่ได้รับวัคซีนตามเกณฑ์ ควรสวมหน้ากากอนามัย
เมื่ออยู่ร่วมกับบุคคลอื่น , ผู้ติดเชื้อและผู้สัมผัสเสียงสูง ให้สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา เมื่ออยู่ร่วมกับบุคคลอื่น


​สถานที่ภายนอกอาคารที่โล่งแจ้ง ให้สวมหน้ากากอนามัย เมื่ออยู่ร่วมกับคนอื่น ไม่สามารถเว้นระยะห่าง เพราะรวมกลุ่มกับคนจำนวนมาก
การระบายอากาศไม่ดี มีความแออัด , สถานที่ภายในอาคาร ให้สวมหน้ากากอนามัย แต่ถอดหน้ากากอนามัยได้ กรณีอยู่คนเดียว หากอยู่ร่วมกับคนอื่น
แต่ไม่ได้พักอาศัยที่เดียวกัน ต้องเว้นระยะห่างไม่รวมกลุ่ม


บางอาชีพที่จำเป็นในการเลิกสวมหน้ากากอนามัย เช่น ผู้ประกาศข่าว นักแสดง ต้องเปิดหน้า หลายคนก็ตื่นเต้น ที่จะได้กลับมาเห็นหน้ากันอีกครั้ง
แต่ต้องดำเนินรายการด้วยความระมัดระวัง ฉีดวัคซีนให้ครบตามเกณฑ์ เว้นระยะห่าง ตรวจ ATK ก่อนเข้าพื้นที่ถ่ายทำทุกครั้ง หากถ่ายทำต่อเนื่อง
ก็ต้องตรวจซ้ำทุก 5-7 วัน เมื่อกิจกรรมนั้นเสร็จ ควรสวมหน้ากากอนามัยทันที


​นอกจากนี้มติศบค. ยังมีการปรับพื้นที่สีเขียว 77 จังหวัดทั่วประเทศ ให้บริโภคสุราในร้านอาหาร ผับ บาร์ สถานบันเทิงเปิดได้ถึงเที่ยงคืน
แต่มีข้อเสนอขอขยายให้ถคงตี 2 ได้หรือไม่ ก็มีข้อเสนอและพูดคุยในศบค. เกี่ยวกับกฎหมายที่ต้องนำไปปลดล็อค หารือในประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)
เกี่ยวกับสถานบันเทิง การบริโภคเครื่องดื่มสุรา เชื่อมโยงกันอยู่ กับคำสั่งห้ามร้านสะดวกซื้อ ขายแอลกอฮอลล์หลังเที่ยงคืน


ขณะที่การเดินทางเข้าประเทศไทย มีการยกเลิก Thailand Pass ทั้งชาวไทยและต่างชาติ ที่เดินทางเข้าประเทศ ยกเลิกการตรวจวัดไข้อุณหภูมิ
แต่ต้องแสดงเอกสารการฉีดวัคซีนครบโดส หรือผลตรวจโควิด-19 ซึ่งเจ้าหน้าที่สายการบินจะสุ่มตรวจ ขณะผู้ให้บริการบนเครื่องบิน
ยังต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาเช่นกัน


เช็คลิสต์อุปกรณ์ป้องกันโควิด ต้นทุนชีวิตที่กำลังจะบอกลา

​สำหรับอุปกรณ์ป้องกันโควิด-19 ที่จำเป็นต้องใช้ ช่วงสถานการณ์แพร่ระบาด ถือเป็นค่าใช้จ่ายหลัก ที่สอดแทรกเข้ามา ในชีวิตประจำวัน
และกำลังจะถูกบอกลา ในเร็ววันนี้ คือ

“หน้ากากอนามัย” ช่วงระบาดแรกๆ ถือเป็นปัญหาระดับโลก จนรัฐบาลต้องตั้งคณะกรรมการขึ้นมา ตรวจสอบการจำหน่ายและควบคุมราคา
เพราะเคยสูงถึง 3 ชิ้น 100 บาท แถมยังมีพวกหัวใส นำหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้ว มาหลอกขายแบบรียูส หรือกักตุนไว้จำนวนมาก แล้วนำมาปล่อยขายในช่วงขาดแคน

​“ชุดตรวจ ATK” ที่ราคาเคยแพงถึง 89 บาทและหายาก ถูกจำกัดการซื้อ เป็นปัญหาที่องค์การอาหารและยา (อย.) ต้องออกมาตรฐานรับรอง
ปัจจุบันราคา 39 บาท แทบจะไม่มีใครซื้อแล้ว

“เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว” ตรวจหาค่าออกซิเจนในร่างกาย จำเป็นต้องซื้อมาไว้เพื่ออุ่นใจ

“เครื่องวัดไข้ รูปแบบต่างๆ” ที่กำลังจะใช้น้อยลง

​“ถุงมือพลาสติกใส” เพราะก่อนหน้านี้ต้องจับสิ่งของ หรือจุดสัมผัสต่างๆ

“ชุดป้องกันต่างๆและเครื่องวัดความดัน” บางจังหวัดเจ้าหน้าที่ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ไม่เพียวพอทั่วถึง
ประชาชนที่ติดเชื้อ จึงต้องมีอุปกรณ์พื้นฐาน วัดร่างกายตัวเองและส่งข้อมูลให้เจ้าหน้าที่ เพื่อจัดยาและ "Update ข้อมูลอุณหภูมิทางระบบออนไลน์

​“วัคซีนป้องกันโควิด” ต้องเสียเงินจับจองกันข้ามปี ควักกระเป๋าจ่ายราคา 1,500 -1,600 บาท สุดท้ายบางคนก็ขายสิทธิ์จอง
ขณะที่ปัจจุบันโรงพยาบาลรัฐต่างๆ มีครบทุกยี่ห้อแล้ว หรือสามารถ Walk-in ที่ศูนย์วัคซีนกลางบางซื่อได้เลย มีให้เลือกทุกยี่ห้อ

“อุปกรณ์ทำความสะอาดต่างๆ” ทุกคนต้องมีพกติดตัวและที่บ้าน เช่น สบู่ เจลล้างมือ แอลกอฮอล์ สเปย์ ฯลฯ มีราคาแพงมากในช่วงที่โควิดระบาดใหม่ๆ

​ “ประกันโควิด” ได้รับความนิยมล้านหลาม ในช่วงที่โควิดระบาดใหม่ๆ สุดท้ายบางรายไม่ได้รับเงินประกัน
เพราะไม่ได้อ่านเงื่อนไขกรมธรรม์อย่างถี่ถ้วน จนเป็นที่มาของการ ไปร้องเรียนที่สำนักงานคปภ.จำนวนมาก

คงต้องรอดูว่า 1 ก.ค.นี้ บรรยากาศประเทศจะเป็นอย่างไรในวันที่คนไทยหลายคนคงเลิกสวมหน้ากากอนามัย
นักข่าวคงออกไปถ่ายภาพการถอดแมสก์ ครั้งแรกของประเทศไทย คงได้เห็นกันเต็มหน้าสื่อแน่นอน